อุปกรณ์การใช้
- 1. หม้อเคลือบ 1 ใบ
2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน
3. ไม้พาย 1 อัน
4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)
5. ถ้วยตวงแก้วขนาด 500 มิลลิลิตร 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)
6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลาย โซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)
7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารละลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)
8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)
9. เตาไฟฟ้า หรือ เตาแก๊ส
10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม
11. ถุงมือ แว่นตา เสื้อคลุม ที่ปิดจมูก
12. พิมพ์พลาสติก เลือกแบบตามชอบ
13. อื่น ๆ เช่น ผ้าเช็ดมือ กระดาษทิชชู กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว
ขั้นตอนการผลิต
- ส่วนผสม
1. น้ำมันมะพร้าว 220 กรัม
2. น้ำมันมะกอก 100 กรัม
3. น้ำมันปาล์ม 80 กรัม
4. โซดาไฟ 75 กรัม
5. น้ำ 140 กรัม
6. เมล็ดข้าวโพดแห้งบดละเอียด 20 กรัม
7. งาบดละเอียด 2.5 กรัม
8. กลีเซอรีน 25 กรัม
9. วิตามินอี 2 กรัม
•สูตรนี้ทำสบู่ขนาดน้ำหนัก 60 กรัม ได้ 9 ก้อน ผู้สนใจสามารถเพิ่มปริมาณเป็น 2 หรือ 3 เท่า ได้ตามความต้องการ
วิธีทำ
- 1. เทโซดาไฟลงในน้ำที่เตรียมไว้ กวนให้ละลายหมดเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเทโซดาไฟลงในน้ำ อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก
2. ให้หาถาดใส่น้ำ แล้วแช่ถ้วยตวงแก้ว (บิกเกอร์) ที่ผสมสารโซดาไฟ เพื่อให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 42 องศาเซลเซียส
3. เทสารโซดาไฟลงในเหยือกพลาสติก ถ้าเป็นเหยือกที่มีหูจับจะดีมาก เพราะทำให้สะดวกในการเทสารละลายโซดาไฟ หลังจากนั้นให้พักไว้ก่อน
4. ผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันปาล์ม ตามสัดส่วนที่กำหนด ใส่หม้อเคลือบ แล้วนำไปตั้งไฟ คนให้เข้ากัน เมื่ออุณหภูมิได้ 42 องศาเซลเซียส ให้ยกลงจากเตา
5. เทโซดาไฟที่ได้ (ในข้อ 3) ลงในน้ำมัน (ในข้อ 4)ทีละน้อย แล้วคนให้เข้ากันจนกว่าโซดาไฟหมด
6. คนทั้ง 2 ชนิดไปเรื่อย ๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
7. หากว่าระหว่างกวน (ในข้อ 6) อุณหภูมิลดลง ให้ยกหม้อตั้งบนเตา จนอุณหภูมิได้ 42 องศาเซลเซียส แล้วเทกลีเซอรีน วิตามินอี ข้าวโพดบด งาบด คนให้เข้ากันต่อไปอีก 10 นาที
8. นำน้ำหอมที่เตรียมไว้เทลงไป และกวนต่ออีก 5 นาที จึงเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
9. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หรือจนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง แล้วจึงนำออกจากแม่พิมพ์
10. เมื่อแกะสบู่ออกจากแม่พิมพ์ ให้ผึ่งในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อจะได้ก้อนสบู่ที่มีความแห้ง
11. หลังจากนั้น ให้ทิ้งสบู่ไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ฤทธิ์ด่างของโซดาไฟเจือจาง จึงนำมาใช้ได้
ข้อแนะนำในการผลิต
- 1. ในการพิมพ์สบู่นั้น แม่พิมพ์ควรเป็นวัสดุที่ทำจากพลาสติก เพราะจะมีความยืดหยุ่น ทำให้แกะสบู่ออกจากแม่พิมพ์ได้ง่าย และไม่ควรเป็นวัสดุจำพวกโลหะ หรืออลูมิเนียม เพราะจะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ
2. สบู่ที่แกะออกจากแม่พิมพ์ ไม่ควรวางบนกระดาษที่มีหมึกพิมพ์ เพราะอาจจะทำให้หมึกพิมพ์ติดกับเนื้อสบู่ได้
3. ผู้ผลิตสบู่ควรสวมเสื้อกันเปื้อน ถุงมือ มีผ้าปิดจมูก และมีแว่นตากันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากโซดาไฟกระเด็น
แหล่งข้อมูล
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการ."สบู่ขัดผิวข้าวโพด"