วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สบู่ข้าวโพด

 สูบ่ข้าวโพด


ข้าวโพดเป็นธัญพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะมีสรรพคุณมากมาย ในปัจจุบัน ข้าวโพดถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทสบู่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างจากสบู่ในท้องตลาด สบู่ข้าวโพดมีคุณสมบัติในการขัดผิว กำจัดสิ่งอุดตันในรูขุมขน ขั้นตอนการทำสบู่ข้าวโพดนั้นไม่ยาก สามารถทำเป็นในอุตสาหกรรมครัวเรือน เพื่อก่อให้เกิดรายได้ภายในครอบครัวอีกทางหนึ่ง

อุปกรณ์การใช้
    1. หม้อเคลือบ 1 ใบ 2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน 3. ไม้พาย 1 อัน 4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่) 5. ถ้วยตวงแก้วขนาด 500 มิลลิลิตร 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ) 6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลาย โซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง) 7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารละลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว) 8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ) 9. เตาไฟฟ้า หรือ เตาแก๊ส 10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม 11. ถุงมือ แว่นตา เสื้อคลุม ที่ปิดจมูก 12. พิมพ์พลาสติก เลือกแบบตามชอบ 13. อื่น ๆ เช่น ผ้าเช็ดมือ กระดาษทิชชู กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว

ขั้นตอนการผลิต
    ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 220 กรัม 2. น้ำมันมะกอก 100 กรัม 3. น้ำมันปาล์ม 80 กรัม 4. โซดาไฟ 75 กรัม 5. น้ำ 140 กรัม 6. เมล็ดข้าวโพดแห้งบดละเอียด 20 กรัม 7. งาบดละเอียด 2.5 กรัม 8. กลีเซอรีน 25 กรัม 9. วิตามินอี 2 กรัม สูตรนี้ทำสบู่ขนาดน้ำหนัก 60 กรัม ได้ 9 ก้อน ผู้สนใจสามารถเพิ่มปริมาณเป็น 2 หรือ 3 เท่า ได้ตามความต้องการ

วิธีทำ
    1. เทโซดาไฟลงในน้ำที่เตรียมไว้ กวนให้ละลายหมดเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อเทโซดาไฟลงในน้ำ อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก 2. ให้หาถาดใส่น้ำ แล้วแช่ถ้วยตวงแก้ว (บิกเกอร์) ที่ผสมสารโซดาไฟ เพื่อให้อุณหภูมิลดลงเหลือ 42 องศาเซลเซียส 3. เทสารโซดาไฟลงในเหยือกพลาสติก ถ้าเป็นเหยือกที่มีหูจับจะดีมาก เพราะทำให้สะดวกในการเทสารละลายโซดาไฟ หลังจากนั้นให้พักไว้ก่อน 4. ผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันปาล์ม ตามสัดส่วนที่กำหนด ใส่หม้อเคลือบ แล้วนำไปตั้งไฟ คนให้เข้ากัน เมื่ออุณหภูมิได้ 42 องศาเซลเซียส ให้ยกลงจากเตา 5. เทโซดาไฟที่ได้ (ในข้อ 3) ลงในน้ำมัน (ในข้อ 4)ทีละน้อย แล้วคนให้เข้ากันจนกว่าโซดาไฟหมด 6. คนทั้ง 2 ชนิดไปเรื่อย ๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 7. หากว่าระหว่างกวน (ในข้อ 6) อุณหภูมิลดลง ให้ยกหม้อตั้งบนเตา จนอุณหภูมิได้ 42 องศาเซลเซียส แล้วเทกลีเซอรีน วิตามินอี ข้าวโพดบด งาบด คนให้เข้ากันต่อไปอีก 10 นาที 8. นำน้ำหอมที่เตรียมไว้เทลงไป และกวนต่ออีก 5 นาที จึงเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ 9. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หรือจนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง แล้วจึงนำออกจากแม่พิมพ์ 10. เมื่อแกะสบู่ออกจากแม่พิมพ์ ให้ผึ่งในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อจะได้ก้อนสบู่ที่มีความแห้ง 11. หลังจากนั้น ให้ทิ้งสบู่ไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ฤทธิ์ด่างของโซดาไฟเจือจาง จึงนำมาใช้ได้

ข้อแนะนำในการผลิต
    1. ในการพิมพ์สบู่นั้น แม่พิมพ์ควรเป็นวัสดุที่ทำจากพลาสติก เพราะจะมีความยืดหยุ่น ทำให้แกะสบู่ออกจากแม่พิมพ์ได้ง่าย และไม่ควรเป็นวัสดุจำพวกโลหะ หรืออลูมิเนียม เพราะจะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ 2. สบู่ที่แกะออกจากแม่พิมพ์ ไม่ควรวางบนกระดาษที่มีหมึกพิมพ์ เพราะอาจจะทำให้หมึกพิมพ์ติดกับเนื้อสบู่ได้ 3. ผู้ผลิตสบู่ควรสวมเสื้อกันเปื้อน ถุงมือ มีผ้าปิดจมูก และมีแว่นตากันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากโซดาไฟกระเด็น

แหล่งข้อมูล
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการ."สบู่ขัดผิวข้าวโพด"
http://nakhonsawan.doae.go.th/link/sa1.html

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของ"ไร่สุวรรณ"

"ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ" ภายใต้การดูแลของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ ที่ใครๆ คุ้นเคยกันในชื่อ “ไร่สุวรรณ” ด้วยบรรยากาศเย็นสบาย พร้อมทิวทัศน์ทุ่งข้าวโพด, ดอกทานตะวัน กลางหุบเขา และธรรมชาติโดยรอบที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ ทั้งหมดอยู่บนเนื้อที่กว่า 400 ไร่ 
 
ไร่ข้าวโพดหวานสุวรรณ หรือสถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ เป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวโพดข้าวฟ่างและพืชไร่ (Field Crop) แบบครบวงจร ทำการเพาะปลูกและวิจัยข้าวโพดหวานมานาน ข้างหน้าไร่จะมีร้านขายของอยู่ มีข้าวโพดหวานขาย มีทั้งแบบต้มและแบบยังไม่ต้ม รวมทั้งน้ำนมข้าวโพดและสินค้าการเกษตรของบริเวณนั้นขายอยู่ด้วย
 
พื้นที่ของ"ไร่สุวรรณ" เดิมชื่อว่า " ไร่ธนะฟาร์ม" เป็นที่ดินของ ฯพณฯ ท่านจอมพลสฤษดิ์   ธนรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้สำหรับปลูกข้าวโพดและพืชไร่อื่นๆ รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ด้วยวิธีการที่ทันสมัยเพื่อเป็นตัวอย่างของคนในท้องถิ่น และบริเวณใกล้เคียง หลังจากที่ท่านอสัญกรรม เมื่อปี พ.ศ.2506 ทรัพย์สินของท่านได้ตกเป็นของรัฐบาล   ต่อมาในปี พ.ศ.2508 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบ"ไร่ธนะฟาร์ม" จากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดตั้งและพัฒนาไร่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับฝึกงานให้กับนิสิตคณะกสิกรรมและสัตวบาล   โดยตั้งชื่อว่า " สถานีฝึกนิสิตเกษตรสุวรรณวาจกกสิกิจ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถานีวิจัยพืชไร่สุวรรณวาจกกสิกิจ" จวบจนปัจจุบัน
 
ผลิตผลข้าวโพดหวานของที่นี่จะทยอยปลูกในแปลงทั้งปี และมีจำหน่ายให้ผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณด้านหน้าฟาร์ม นอกจากนั้นยังปลูกข้าวโพดไร่เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ มีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์งา และถั่วเหลือง ทิวทัศน์ในไร่สวยงามมาก เป็นบรรยากาศของทุ่งข้าวโพดอยู่กนลางหุบเขาและ เคยใช้เป็นฉากถ่ายละครหลายเรื่อง
 
ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมทางด้านทัวร์เกษตร สำหรับหมู่คณะที่สนใจศึกษา เทคโนโลยีการเกษตร เช่น กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ฯลฯ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เดินป่า ไร่สุวรรณมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีแนวเขากั้นเป็นแนวแบ่งระหว่างด้าน หน้าและด้านหลังเขา ซึ่งภูเขายังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ลิง ไก่ป่า นก กระรอก ฯลฯ 
 
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4436 1770-4 โทรสาร 0 4436 1108
 
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่บริเวณริมถนนมิตรภาพ ช่วงหลัก กม.ที่ 155 -156 บ้านปางอโศก ต.กลางดง อ, ปากช่อง จ.นครราชสีมา   ในแนวเส้นรุ้งที่ 14.5 องศาเหนือ และแนวเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 388 เมตร    ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,000 - 1,200 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 85% สภาพของดิน เป็นดินเหนียว ร่วนสีน้ำตาลแดง ระบายน้ำได้ดีมาก มีความเป็นกรดปานกลางถึงกรดจัด และมีอินทรีย์วัตถุปานกลาง มีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,589 ไร่ ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนโดยมีภูเขา ปางอโศกกั้นกลาง พื้นที่อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาปางอโศก ประมาณ 1,389 ไร่   ใช้เพื่อเป็นแปลงทดลองวิจัยที่สามารถให้น้ำชลประทาน ได้ตลอดปี 680 ไร่ แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ 390 ไร่ โดยใช้น้ำบาดาลในการชลประทาน พื้นที่อาคารสิ่งก่อสร้าง 319 ไร่ ส่วนพื้นที่ด้านทิศใต้ ของภูเขาปางอโศกใช้เป็นพื้นที่สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ และเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 1,200 ไร่

ติดต่อสถานีวิจัยฯ
เลขที่ 298 หมู่ 1 ถ.มิตรภาพ ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30320
Tel . 0-4436-1770-4 Fax. 0-4436-1108

ข้าวโพดหวาน Kanchanaburi Sweet Corn




ข้าวโพดหวาน อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป





ฤดูปลูก


ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน
อุณหภูมิที่เหมาะสม


อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง
การเตรียมแปลงปลูก


การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ
การปลูกข้าวโพดหวาน


ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที
การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน


- การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
- การให้ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
- การใ้หน้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์
- การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
- การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล
การเก็บเกี่ยวและการรักษา


การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ข้าวโพดหวานมคุณภาพดีหรือเลว ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานเพื่อส่ง โรงงานหรือจำหน่ายฝักส ควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม(Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ


    นับอายุ หลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนัก, เบา หรือปานกลาง เช่นพันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน พันธุ์ปานกลาง 70-85 วัน และพันธุ์หนักตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป
    เก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอน และนิยมกระทำกัีนมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ควรเก็บเกี่ยวในเวลา เช้าตรู่และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง


ที่มา : http://www.vegetweb.com

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

LOGO บนสินค้า

LOGO บนสินค้าที่บอกว่าแต่ละกล่องของสินค้ามีสีที่แตกต่างกัน แต่รสชาติเหมือนกันแต่แตกต่างกันที่สีของชาที่ชงออกมา